เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว
คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของ
กิเลสเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองเป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิบดีธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[12] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้วให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
แล้ว ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออก
จากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :884 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 5. สังกิลิฏฐติกะ 7. ปัญหาวาร
จักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินโผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์
ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มี
2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดย
อธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์
ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสและที่กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :885 }